เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลการใช้งานของท่าน เพื่อประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งาน หากท่านใช้งานเว็บไซต์ต่อ เราถือว่าท่านได้ยอมรับการใช้งานคุกกี้ และนโยบายความเป็นส่วนตัวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นโยบายการใช้คุกกี้
จำหน่ายจักรยาน เสือหมอบ เสือภูเขา อุปกรณ์จักรยาน อะไหล่จักรยาน เครื่องแต่งกาย
Review

Zipp 202 Firecrest Carbon Clinchers Review

author : SPORT FOR LIFE | 1 Nov 2017
View : 5,821
Zipp 202 Firecrest Carbon Clinchers Review

Zipp 202 Firecrest Carbon Clinchers Review

Sport Bicycle

ล้อคงเป็นอุปกรณ์ชิ้นแรกๆ ที่นักปั่นส่วนใหญ่จะเลือกอัพเกรด นอกจากจะได้ประสิทธิภาพแล้วยังได้ความสวยงามอีกด้วย โดยเฉพาะชุดล้อ Carbon แต่ในตลาดล้อ Carbon ปัจจุบันมีตัวเลือกมากมายให้นักปั่นได้เลือกอัพเกรด ตั้งแต่ล้อคาร์บอนราคาเบาๆจากแดนมังกร จนถึงล้อคาร์บอน Hi-end ที่มาพร้อมเอกสารทดสอบหนาเตอะ แล้วอะไรคือตัวชี้วัดว่าล้อไหนมีดีกว่ากัน ปัจจัยที่ทำให้ล้อคาร์บอนเป็นล้อที่ดีนั้นมีมากมาย แต่ที่แน่ๆ Zipp คือหนึ่งในผู้ผลิตล้อที่มีเทคโนโลยีชั้นแนวหน้าอย่างไม่ต้องสงสัย

Zipp 202 Firecrest Carbon Clinchers แม้ว่าจะเป็นล้อที่มีมานานแล้ว แต่ 202 นั้นก็ยังเป็นล้อที่เร็ว และลื่นอย่างไม่ต้องสงสัย ส่วนราคาค่าตัวนั้นก็สูงพอสมควรเลย เรามาดูในส่วนของ spec ล้อกันบ้างดีกว่าครับ

Zipp 202 Firecrest Carbon Clincher Features:

  • ดุมหลัง 188 V9 ที่มาพร้อม Swiss steel bearing และการขึ้นซี่ลวดแบบ “virtual 3 cross” 
  • เพิ่มความ stiffness ในดุมหลังเพิ่มจากล้อโมเดลก่อนหน้า และ stiff กว่าคู่แข่งช่วงเวลาเปิดตัวประมาณ 25%
  • Sapim CX-Ray ซี่ลวดรีดแบนคุณภาพสูง
  • External nipples เพิ่มความสะดวกในการดูแล
  • ความกว้าง: 16.25mm(วัดขอบใน) และ 24.62mm (วัดจากขอบเบรค)
  • การขึ้นซี่ลวด: 24 ซี่ แบบ 2-cross (ดุมหลัง) และ 18 ซี่ แบบ radial (ดุมหน้า)
  • ความสูงขอบ: 32mm
  • ผ้าเบรค: Tangente Platinum brake pads
  • น้ำหนัก: 1395 grams (complete set)

ชุดล้อ All-around มาตรฐานสูง

เมื่อพูดถึงล้อ เราคงปฏิเสทไม่ได้ว่า Zipp นั้นโดดเด่นมากๆในตลาดจักรยาน ล้อทุกชุดถูกพัฒนาและผลิตที่ Indianapolis ซึ่งนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ Zipp มีราคาค่าตัวค่อนข้างสูง

Zipp เลือกใช้ดุม 88/188 v9 ให้กับ Zipp 202 firecrest โดยที่ดุมตัวนี้จะส่งถ่ายกำลังจากนักปั่นสู่ล้อได้อย่างเต็มที่ โดยที่เพิ่มความ stiffness ในแนวนอนด้วยเพื่อป้องกันล้อไปสีขอบเบรก

ซึ่งดุมของ Zipp นั้นถูกพัฒนาจากเสียงสะท้อนของนักกีฬาที่ใช้ล้อ Zipp ในการแข่งขันจริง ยกตัวอย่างเช่น Sprinter ชั้นแนวหน้าอย่าง Mark Cavendish เป็นต้น อย่างที่ทราบกันดีว่า Sprinter ในระดับ Pro สามารถระเบิดพลังได้มากกว่า 1000w ในการ Sprint หน้าเส้นชัย แน่นอนว่าแรงที่ส่งถ่ายไปสู่ล้อนั้นมีมหาศาล จนก่อให้เกิดการบิดตัว หรือล้อโบกได้อย่างไม่ต้องสงสัย แต่ Zipp ที่ใช้ดุม V9 นี่ก็ไม่ทำให้เค้าผิดหวัง

Zipp 202 Firecrest ยังคงใช้ขอบล้อสูง 32mm ซึ่งแน่นอนว่าคือล้อสายเขาอย่างไม่ต้องสงสัย และบนภูเขาสูงชัน มักจะมีกระแสลมข้างที่รุนแรง ขอบล้อที่มีผิวแบบลูกกอล์ฟช่วยตัดลมข้างได้อย่างดี และยังเป็นที่นิยมในสนาม Cyclocross อีกด้วย

สายเขาต้อง 202

202 คู่นี้เกิดมาเพื่อพิชิตภูเขา

โดยปกติล้อที่ไม่ดีจะเกิดอาการโบกเมื่อเจอแรงกดหนักๆ แต่ไม่ใช่กับล้อคู่นี้ ไม่ว่าจะยืนโยกขึ้นเขาชิง KOM หรือ Sprint ชิง Segment ใน Strava ล้อคู่นี้ก็ไม่โบกแม้แต่นิดเดียว แรงกดบันไดทุกๆ watts จะถูกส่งถ่ายไปยังถนนได้เป็นอย่างดี คุณไม่จำเป็นต้องตั้งผ้าเบรกให้ห่างจากขอบล้อ เวลาที่คุณต้องยืนโยกขึ้นเขาเลยแม้แต่นิดเดียว

จุดเด่นของล้อที่ stiffness ขนาดนี้แน่นอนคือการตอบสนองที่ยอดเยี่ยม ไม่ว่าจะเป็นการแช่ pace ขึ้นเขายาวๆ หรือ sprint กดเต็มแบบสุดตัว ตัวดุมเองก็ตอบสนองได้ในทันที

ในขณะที่กำลังปั่นขึ้นเขา ลมข้างเป็นอะไรที่นักปั่นจะรู้สึกได้อย่างแน่นอน  และแน่นอนว่า Firecrest ถูกพัฒนาเพื่อให้สู้ลมข้างได้ดี อย่างที่นักปั่นจะรู้สึกได้ว่าอาการจากกระแสลมข้างมันน้อยลง ถึงจะไม่เท่าล้อ aluminum ติดรถ Complete ที่มีขอบต่ำก็ตาม

ลวดลายผิวลูกกอล์ฟบนขอบล้อไม่มีเพื่อความสวยงามเพียงอย่างเดียว ประสิทธิภาพในการแหวกอากาศไปข้างหน้ายังเพิ่มขึ้นอีกด้วย ในขณะที่ปั่นบนทางราบระยะทางยาวๆ คุณจะรู้สึกได้ถึงความเหวี่ยงและการควงขาเพียงเบาๆรถก็ไหลไปข้างหน้าอย่างง่ายดาย

202 ลงตัวกับยางขนาด 25c มากๆ
202 ลงตัวกับยางขนาด 25c มากๆ

How about braking?

เมื่อเปรียบเทียบกับล้อคาร์บอนขอบงัดในตลาด การเบรกในสภาพถนนแห้ง Zipp 202 Firecrest ทำได้ดีกว่าคู่แข่งระดับเดียวกันเล็กน้อย โดยใช้ผ้าเบรก Tangent การเบรกสภาพถนนแห้งทำได้อย่างยอดเยี่ยม เบรกอาจจะมีเสียงหอนบ้างหากทำการเบรกอย่างหนัก แต่ก็เป็นเรื่องที่คุ้นเคยกันดีสำหรับคนที่ใช้ล้อคาร์บอนอยู่แล้ว

แล้วในสภาวะถนนเปียกละ แน่นอนว่าโดยธรรมชาติแล้ว ความสามารถในการเบรกของล้อคาร์บอนในสภาพถนนเปียกย่อม ลดลง เมื่อใดที่ท่านใช้ล้อคาร์บอนแล้วเจอฝน อย่าลืมเผื่อระยะเบรกไว้สักหน่อยนะครับ แน่นอนว่า Zipp กำลังพัฒนาเพื่อลดระยะเบรกให้สั้นลง ในทุกสภาวะอากาศอย่างแน่นอน อย่างที่เราจะเห็นได้จากขอบเบรกของล้อตระกูล NSW

zipp_202_004

Durability and ease of servicing

ล้อคาร์บอนหลายตัวจะซ่อน nipples ไว้ในขอบล้อ ซึ่งยากต่อการดูแลรักษา โชคดีที่ 202 ไม่ได้เป็นเช่นนั้น ช่างร้านจักรยานหรือนักปั่นที่ DIY เก่งๆก็สามารถ ตั้งจี้ล้อเองได้อย่างง่ายดาย

ตัวดุมก็ service ได้อย่างง่าย สามารถหาดูได้ตาม Youtube: ZippSpeed Channel Zipp เองยังมี Ceramic Bearing ให้เลือกอัพเกรดกันด้วย เช่นเดียวกับ stickers ขอบล้อหลากสีให้เลือก mix & match กับจักรยานของคุณ

The Good / ข้อดี

  • เป็นล้อที่เร็วและลื่นมาก บนทางราบ
  • น้ำหนักเบา และไต่เขาได้ดี
  • เป็นชุดล้อที่เหมาะกับคนที่ปั่นขึ้นเขาเป็นประจำ
  • ล้อไม่โบก แม้ว่าจะยืนโยกขึ้นเขาแบบเต็มแรง
  • เซอร์วิสง่าย ทั้ง Nipple และ ดุม
  • ใส่ยางขนาด 25mm ได้อย่างเพอร์เฟ็ค
  • ขึ้นซี่ลวดแบบ Straight-pull ทำให้เปลี่ยนหรือเซอร์วิสได้ง่าย
  • ทำงานได้ดีเมื่อเจอกระแสลมข้าง

The Bad / ข้อเสีย

  • สีขอบล้อมีโอกาสเปลี่ยนหลังใช้งานไปนานๆ
  • ราคาค่อนข้างสูง
  • เตรียมเผื่อระยะเบรคไว้ในสภาพถนนเปียก
zipp_202_005

ทิ้งท้าย

ด้วยราคาระดับ Premium แน่นอนว่าคุณจะได้ล้อที่มีประสิทธิภาพระดับ Premium Zipp 202 Firecrest ตามเงินที่จ่ายไป ผมนึกไม่ออกว่าคุณจะต้องการอะไรมากกว่านี้จากล้อคาร์บอน ในวันที่ท้องฟ้าแจ่มใส ล้อคู่นี้ไต่ความเร็วไม่แพ้ใคร สติฟแต่ยังสัมผัสได้ถึงความนุ่มที่ล้อ Alloy ไม่สามารถให้ได้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก FEED THE HABIT

เเท็กที่เกี่ยวข้อง