เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลการใช้งานของท่าน เพื่อประสบการณ์ที่ดีที่สุดในการใช้งาน หากท่านใช้งานเว็บไซต์ต่อ เราถือว่าท่านได้ยอมรับการใช้งานคุกกี้ และนโยบายความเป็นส่วนตัวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นโยบายการใช้คุกกี้
จำหน่ายจักรยาน เสือหมอบ เสือภูเขา อุปกรณ์จักรยาน อะไหล่จักรยาน เครื่องแต่งกาย
Review

Zipp 454 NSW From the nature against the nature

author : SPORT FOR LIFE | 20 Oct 2017
View : 5,514
Zipp 454 NSW From the nature against the nature

Zipp 454 NSW From the nature against the nature

Sport Bicycle

หลายๆคนได้ยินครั้งแรกคงงงไปตามๆกัน “วาฬ” จะทำให้จักรยานของเราไปเร็วขึ้นได้จริงๆหรอ?

ล้อ Zipp กับเทคโนโลยีที่ได้มาจาก “วาฬ”?

Zipp 454 NSW สามารถเรียกความสนใจในวงการจักรยานได้ทันทีหลังจากการเปิดตัว ด้วยลักษณะขอบล้อแบบใหม่ "HyperFoils" ที่มีความเป็นเอกลักษณ์มากๆ HyperFoils นั้นได้รับแรงบันดาลใจมาจากครีบของวาฬ โดยเจ้าสิ่งนี้แหละที่จะนำไปต่อสู้กับกระแสลมข้าง

Matt Phillips : ลักษณะขอบล้อเช่นนี้ ช่วยการตัดกระแสลมข้างได้เป็นอย่างดี

ถ้าจะให้สรุป Zipp 454 NSW อย่างย่อก็คือ มันเบาขึ้น, สติฟขึ้น, ลู่ลมกว่า 404 NSW, ตัดลมข้างได้ดีเช่นเดียวกับ Zipp 303, และแพงที่สุดในบรรดาล้อที่ Zipp จำหน่ายอยู่ในขณะนี้, ผลิตแต่ล้อที่รองรับยางงัดเท่านั้น, ไม่รองรับยาง Tubeless, รองรับระบบริมเบรกเท่านั้นในขณะนี้ 

เป็นที่ทราบกันดีว่า ล้อที่ลดแรงฉุดอากาศได้ดีจะทำให้เราไปได้เร็วขึ้น แต่กระนั้นเองก็มักจะตัดลมข้างไม่ได้ดีนัก พบได้ในล้อขอบสูงที่เน้นทำความเร็วโดยเฉพาะ ในทางกลับกัน ล้อที่จัดการลมข้างได้ดี ไม่ว่าลมจะมาทางไหน ที่พบได้ในล้อที่มีลักษณะขอบต่ำ ก็มักจะมีแรงฉุดอากาศที่มากกว่า ซึ้งทำให้ทำความเร็วสูงๆสู้ล้อขอบสูงไม่ได้ นี้คือสิ่งที่ Jason Fowler กล่าวในวันที่เปิดตัว Zipp 454 NSW

เช่นเดียวกับล้ออื่นๆในซีรี่  NSW ที่ล้อจะมาพร้อมขอบเบรคแบบ textured, silicon -carbide coated : Matt Phillips

แม้ว่าล้อแอโร่ขอบสูงในปัจจุบัน พัฒนามาจนสามารถจัดการกระแสลมข้างได้ดีกว่าก่อนหน้านี้มาก และ Zipp เองก็ควรได้รับเครดิตในจุดนี้ ย้อนกลับไปเมื่อปี 2010 Zipp Firecrest สร้างแรงสะเทือนวงการล้อแอโร่ ด้วยการเผยโฉมล้อแอโร่ขอบอ้วน ที่มีการออกแบบให้ขอบล้อโค้งมน แทนที่จะเป็นทรงสามเหลี่ยมที่เชื่อว่าตัดลมได้ดี และในครั้งนี้เอง ก็เป็นอีกครั้งที่ Zipp ออกแบบล้อแอโร่ได้สะเทือนวงการอีกครั้ง

Zipp ต้องการจะสร้างล้อที่ "ลดแรงต้านอากาศ และจัดการกับกระแสลมข้าง”
Zipp พบสิ่งนี้ใน “ครีปของวาฬ” มันน่าเหลือเชื่อมากๆ! 

Biomimicry – "นวัตกรรม เลียนแบบธรรมชาติ"

เป็น Trend ในวงการวิศวกรรม “ธรรมชาติสามารถแก้ปัญหาหลายๆอย่างในเชิงวิศกรรมได้มากมาย” ยกตัวอย่างเช่น ชุดว่ายน้ำที่นักกีฬาว่ายน้ำระดับ Olympic ใช้กันนั้น จะมีพื้นผิวด้านนอกแบบเดียวกับผิวของปลาฉลาม เพื่อลดแรงฉุดที่จะเกิดขึ้นในขณะว่ายไปข้างหน้า

และด้วยความยาวกว่า 45 ฟุต หนักกว่า 30 ตัน ของวาฬ Humpback มันฟังดูประหลาดมากว่าจะนำมาพัฒนาให้จักรยานเร็วขึ้นได้อย่างไร แต่คุณเชื่อหรือไม่ว่า วาฬ Humpback นั้นคล่องแคล่วกว่าที่คุณคิด สังเกตได้จากวิธีการหาอาหารของมัน เริ่มโดยการต้อนสัตว์น้ำเล็กๆไว้เป็นกลุ่ม แล้วกลื่นเจ้าพวกนั้นในคำเดียว – การจะทำเช่นนั้นได้ วาฬ Humpback ต้องว่ายกลับตัวได้ในรัศมีแคบมากๆ ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยลำตัวขนาดใหญ่เท่าๆกับรถเมล์คันหนึ่ง ที่สามารถว่ายด้วยความเร็วถึง 40 kph เชื่อหรือไม่ มันสามารถกลับตัวด้วยรัศมีเพียง 1.5 เมตร! เท่านั้น

Zipp 454 NSW มีการออกแบบผิวขอบล้อแบบใหม่ : Matt Phillips

เจ้าวาฬ Humpback มันทำได้ยังไง? ทำไมถึงสามารถกลับตัวได้ไวขนาดนั้น – "Tubercles" หรือ ขอบตะปุ๋มตะป๋ำบนครีบของ วาฬนั้นเอง Zipp ยังอธิบายต่อว่า เจ้าขอบที่ไม่เรียบเหล่านี้ จะทำการสร้างน้ำวน แล้วในขณะที่วาฬกลับตัว เจ้าน้ำวนเหล่านี้ก็จะจับกระแสน้ำไว้ ทำให้วาฬเลี้ยวได้รัศมีแคบมากๆ

454_004

และก็เป็นเจ้า Tubercles เนี่ยแหละที่ไปเข้าตาวิศวกรของ Zipp จนนำมาพัฒนา 454 NSW และผลลัพธ์คือขอบล้อที่ไม่เรียบซึ้งช่วยเพิ่มความมั่นคงในการต้านกระแสลมข้าง  

แล้วมันทำงานยังไง? โดยปกติเมื่อปะทะกระแสลมจากด้านข้าง จะมีลมบางส่วนเก็บไว้ข้างๆขอบล้อก่อนที่จะไหลผ่านล้อไป เราเรียกมันว่า Vortex Shedding และ ความถี่ของ Vortex Shedding ของปริมาณที่อากาศไหลผ่านล้อจากลมข้างนั้นเอง

Vortex Shedding คือสิ่งที่ทำให้ล้อหน้าเราออกอาการนั้นเอง โดยธรรมชาติร่างกายเราจะจัดการแก้อาการเหล่านี้ ไม่ว่าจะโน้มตัวสู้ลม หรือบังคับแฮนด์สวนลมข้าง เพื่อให้จักรยานยังคงเดินทางไปทิศทางที่ถูกต้อง และอาการเหล่านี้เนี่ยแหละที่ทำให้เรารู้สึกไม่มั่นคงเมื่อเราต้องเจอกระแสลมข้างนั้นเอง

454_005

ทีมวิศวกร ไม่สามารถทำให้ Vortex Shedding หายไปได้ แต่พวกเค้าทำการปรับความถี่มันใหม่ Roun Trouw, วิศวกรของ Zipp อธิบายไว้ว่า รูปทรงของ HyperFoil สามารถสร้าง Vortex(กระแสลมหมุน) ที่เล็กกว่าและเร็วกว่าขอบล้อรูปทรงมาตรฐาน และเจ้า Vortex เล็กเหล่านี้นั้นเองสลาย(Shedding) ได้เร็วขึ้น 

เกิดอะไรขึ้นเมื่อเราสามารถสลาย Vortex ที่กระทำต่อขอบล้อได้เร็วขึ้น? ผลคืออากาศที่ควรจะสะสมอยู่บริเวณข้างขอบล้อลดน้อยลง และนักปั่นจะรู้สึกถึงความมั่นคงที่เพิ่มขึ้นนั้นเอง ยิ่งไปกว่านั้นยังลดความรู้สึกของการกระชากอีกด้วย

ถ้าสิ่งที่ Zipp กล่าวมาข้างต้นสามารถทำได้จริงแล้วละก็ นักปั่นสามารถรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงได้อย่างแน่นอน มันจะลดความแรงของลมปะทะ มั่นคงขึ้น และอาการกระชากที่น้อยลง ในทางกลับกันนักปั่นก็ไม่ต้องโน้มเข้าหาลม หรือแก้อาการมากเท่าเดิม ทำให้สามารถปั่นได้อย่างผ่อนคลายมากขึ้น ลวดลายบนขอบล้อ เปลี่ยนจากการใช้ Sticker มาใช้การพิมพ์ลายลงบนขอบแทน นั้นทนทานกว่า กับน้ำหนักที่เพิ่มมาน้อยมากๆ และผิวแบบลูกกอล์ฟของ Zipp ยังทำงานได้ดีกว่า Sticker อีกเล็กน้อย

ลวดลายบนขอบล้อ เปลี่ยนจากการใช้ Sticker มาใช้การพิมพ์ลายลงบนขอบแทน นั้นทนทานกว่า กับน้ำหนักที่เพิ่มมาน้อยมากๆ และผิวแบบลูกกอล์ฟของ  Zipp ยังทำงานได้ดีกว่า Sticker อีกเล็กน้อย

HyperFoil ของ Zipp มีประสิทธิภาพมากขึ้นตามองศาของลมข้างที่มากขึ้น นั้นหมายความว่าในสภาพอากาศที่เลวร้ายขั้นสุด Zipp 454 NSW จะแสดงความสามารถได้ดีที่สุดนั้นเอง

ผิวลูกกอล์ฟอันเป็นเอกลักษณ์ของ Zipp ยังคงมีเช่นเคย เพียงแต่ได้มีการออกแบบใหม่ที่มีชื่อว่า HexFin ALBC ตอนนี้หลุมบนขอบจะเป็ฯรูปทรงหกเหลี่ยมแทน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและยังลดจำนวนลง โดยตัด HexFin ออกในบริเวณที่มี HyperFoil ทำงานนนั้นเอง เมื่อทั้ง HyperFoil และ HexFin ทำงานร่วมกันนั้น เปรียบได้กับ HyperFoil คือเครื่องมือชิ้นใหญ่ไว้ทำงานส่วมมาก แต่ HexFin เหมือนเครื่องมีชิ้นเล็กที่คอยเก็บรายละเอียด ปรับจูน ให้เรียบเนียนขึ้นไปอีก

เรามาดูความสามารถในเชิงตัวเลขกันบ้าง Zipp กล่าวดังนี้ : 5% ลดแรงกระทำจากด้านข้าง, 15% ลดความกระชากในลมข้างเมื่อเทียบกับคู่แข่งขอบสูง 60mm ในตลาด

ระบบโม่แบบแม่เหล็ก จะแยกส่วนกับตัวดุมหลัง เพื่อลดการเสียดทาน, เสียงที่เบาลง และเพิ่มการไหล่มากขึ้น

ระบบโม่แบบแม่เหล็ก จะแยกส่วนกับตัวดุมหลัง เพื่อลดการเสียดทาน, เสียงที่เบาลง และเพิ่มการไหล่มากขึ้น

ลืมเรื่องประสิทธิภาพในด้านอากาศพลศาสตร์ของ 454 ไปก่อนนะครับ เมื่อ Zipp กล่าวว่า เพียงแค่เพิ่มความมั่นคงของล้อ “คุณก็เร็วขึ้นแล้ว” แนวคิดนี้มีเหตุผลสนับสนุนอยู่ว่า เมื่อล้อนิ่งขึ้น เราก็จะผ่อนคลายมากขึ้น ตัวจักรยานจะตอบสนองต่อลมข้างแบบคาดเดาได้ นั้นทำให้เราใช้ล้อขอบสูงได้มากกว่าปกติที่เราใช้นั้นก็ทำให้เร็วขึ้นแล้วครับ ไหนจะใช้พลังงานทางร่างกายและจิตใจ ในการควบคุมรถน้อยลงและนำพลังงานเหล่านั้นไปโฟกัสในการปั่นแทน

ประสิทธิภาพในแง่ต่างๆเมื่อรวมกันแล้วก็ส่งผลมากทีเดียว โดยเฉพาะนักปั่นที่มักจะเปลี่ยนมาจับ Top หรือ Hood แทนเมื่อจักรยานออกอาการยามเจอกระแสลมข้าง ซึ่งการจับ Drop นั้นสามารถเซฟวัตถึง 70 watts เลยทีเดียว นักปั่นสามรถใช้เวลาบน Drop หรือ ปั่นในท่าแอโร่ ได้มากขึ้นบน Zipp 454 NSW นั้นหมายความว่า คุณจะเร็วขึ้นไม่ว่าจะวันไหนก็ตาม

กลับมาดูเรื่องของ Aerodynamic กันบ้างเล็กน้อย Zipp 454 NSW นั้นลู่ลมกว่า 404 ซึ้ง 454 สามารถเซฟวัตได้ถึง 5 watt

และยังพกคุณสมบัติพิเศษอื่นๆเช่นเดียวกับเพื่อนๆ NSW ตัวอื่นๆ เช่น Showstopper : ขอบเบรกเซาะร่อง เคลือบด้วยซิลิโคน คาร์ไบด์ ที่เพิ่มความสามารถในการเบรคในทุกสภาวะอากาศ, Cognition hub : ดุมหลัง ที่ใช้โม่แม่เหล็ก เพื่อลดแรงเสียดทานตอนฟรีขา  HyperFoil ถูกนำมาจับคู่กับซี่ลวด 18 เส้นในล้อหน้า และ 24 เส้นในล้อหลัง

HyperFoil ถูกนำมาจับคู่กับซี่ลวด 18 เส้นในล้อหน้า และ 24 เส้นในล้อหลัง

ด้วยราคาขายปลีกระดับแตะหกหลัก ทำให้ Zipp 454 NSW เป็นชุดล้อที่แฟงที่สุดเท่าที่ Zipp นั้นสะท้อนถึงความยากในการพัฒนาและผลิตของทีมงาน Zipp เล่าให้ฟังว่า กระบวนการผลิตของ 454 ในเวลาทั้งหมด 12 ชั่วโมงในการสร้างล้อ 1 คู่ขึ้นมา ตัวล้อถูกสร้างขึ้นที่ Indianapolis

454 NSW มีโครงสร้างขอบล้อแบบใหม่ที่พัฒนาโดย Trouw เทคโนโลยีเหล่านั้นช่วยให้ 454 เอาชนะ 404 ได้ทั้งในแง่ความสติฟและความแข็งแรง ในขณะเดียวกันยังลดน้ำหนักลงไปได้อีก 30g และผมเชื่อว่าเทคโนโลยีเหล่านี้จะถูกส่งต่อไปยัง สินค้าอื่นๆของ Zipp ต่อไป

ราคาเองก็สะท้อนถึงระยะเวลาในการพัฒนาล้อคู่นี้ Zipp ใช้เวลาถึง 4 ปี ในการพัฒนา Zipp 454 NSW ใช้ต้นแบบถึง 36 คู่ และ 252 ชั่วโมงในอุโมงค์ลม และอีกหลายชั่วโมงใน CFD simulations หรือโปรแกรมจำลองการไหล่ของอากาศ ซึ้ง Zipp ยังบอกต่ออีกว่า ในการใช้ CFD simulations 1 ครั้ง อาจใช้เวลาถึง 68 วันถ้าใช้กับเครื่อง laptop ตัว Top ทั่วๆไป

ผมเชื่อว่า Zipp กำลังพาตัวเองไปหาความท้าทายกับ Zipp 454 ในขณะที่ล้อแอโร่ขอบสูงในตลาดทำงานดีขึ้นเรื่อยๆในการปะทะลมข้าง และจุดนี้ Zipp ควรจะได้เครดิตที่บุกเบิกการทำล้อแอโร่ขอบอ้วน ที่ทำให้ล้อแอโร่พัฒนามาถึงทุกวันนี้

เชื่อได้เลยว่า Zipp กำลังพัฒนา HyperFoil ในรุ่นอื่นๆอีกแน่นอน

ในขณะที่ Zipp ได้แจ้งข้อมูลต่างๆ, กราฟ หรือแม้กระทั้ง อนิเมชั่น เพื่อแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของ 454 แต่จุดขายที่ดีที่สุดคือ "ความรู้สึกของรถในขณะที่ปะทะกับ Cross Wind"

ซึ่ง "ความรู้สึก" เป็นอะไรที่วัดได้ยากมากเนื่องจากนักปั่นแต่ละคน ย่อมมีปัจจัยที่แตกต่างกันไปในแง่ของความรู้สึก ในขณะที่ Zipp 404 ก็ทำงานได้ดีเมื่อต้องเจอกับ Cross Wind ดังนั้น 454 จำเป็นต้องทำได้ดีกว่าแบบรู้สึกได้ นักปั่นถึงจะยอมจ่ายราคาค่าตัวที่สูงกว่า 404

บทสรุป

  • Zipp 454 NSW สติฟ, แข็งแรงและเบากว่า Zipp 404 NSW รับมือ Cross wind ได้ดีกว่า 
  • Cognition HUB ดุมหลังระบบแม่เหล็กที่แรงเสียดทานน้อยกว่า 
  • Showstopper™ ขอบเบรกเซาะร่อง เคลือบด้วย Silicon Carbide เพิ่มประสิทธิภาพของเบรกได้ดีเยี่ยม
  • ImPress™ ลวดลายขอบล้อที่พิมพ์ลงไปบนขอบล้อเลย ได้ทั้งความสวยงามและความทนทาน
  • HexFin™ ABLC dimples  ผิวขอบล้อแบบใหม่ ที่ทำงานได้ดีขึ้นกว่าผิวแบบลูกกอล์ฟ ช่วยจัดเรียงอากาศที่ผ่านขอบล้อ
  • ล้อ 1 เซ็ทใช้เวลาในการสร้าง 12 ชั่วโมงที่ Indianapolis, USA 

ขอบคุณบทความจาก PelotonMagazine ด้วยนะครับ

เเท็กที่เกี่ยวข้อง